Marie - The Aristocats 4

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

         
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...
   1. 
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
   
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนาม อ่านต่อ




วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

 จิตตคหบดี
จิตตคหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะแคว้นมคธ วันที่ท่านเกิดมีปรากฎการณ์ประหลาด คือมีดอกไม้หลากสีตกลงทั้งเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้นามว่า จิตตกุมาร แปรว่า กุมารผู้น่าพิศวงหรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม
บิดาของท่านเป็นเศรษฐี ท่านจึงได้เป็น เศรษฐีสืบต่อมาจากบิดา ในวงการพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า จิตตคหบดี ก่อนที่จะมานับถือพระพุทธศาสนาท่านมีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ อัมพาฏการาม นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ
วันหนึ่งได้แสดงเรื่อง อายตนะ ๖ (สื่อสำหรับติดต่อโลกภายนอก ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) หลังจบธรรมเทศนา จิตตคหบดีได้บรรลุอนาคามิผล
จิตตคหบดีเอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนือง ๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี ความสามารถของท่ อ่านต่อ


พระองคุลิมาล

ท่านพระองคุลิมาล* เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ในพระนครสาวัตถี มารดาชื่อว่า นางมันตานีพราหมณี เมื่อท่านคลอดจากครรภ์มารดา ได้บังเกิดเหตุอัศจรรย์ คือ บรรดาเครื่องศาสตราอาวุธยุทธภัณฑ์อันมีอยู่ในเรือนนั้นก็ดี เครื่องพระแสงศาสตราวุธของพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี ได้บังเกิดเป็นเปลวไฟรุ่งโรจน์โชตนาการ ฝ่ายปุโรหิตาจารย์ผู้เป็นบิดา เมื่อเห็นเหตุนั้นจึงออกจากเรือนเล็งแลดูฤกษ์บน (ฤกษ์ที่พระจันทร์เสวยประจำวันมี ๒๗ ฤกษ์) ฤกษ์นั้นก็ปรากฏในอากาศประหลาดใจยิ่งนัก ด้วยว่าบุตรนั้นจะเกิดเป็นโจร ครั้นรุ่งเช้าจึงเข้าไปสู่ที่เฝ้า กราบทูลเนื้อความนั้นให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบ และในที่สุดได้กราบทูลให้พระองค์ประหารชีวิตเด็กเสีย แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลหาทรงทำไม่ ทรงรับสั่งให้บำรุงเลี้ยงรักษาไว้ ปุโรหิตาจารย์ก็อภิบาลบำรุงรักษากุมารนั้นไว้ และให้นามว่า "อหิงสกกุมาร" แปลว่า กุมารผู้ไม่เบียดเบียน
     เมื่ออหิงสกกุมารเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาจึงส่งไปสู่พระนครตักกสิลา เพื่อจะให้ศึกษาเล่าเรียนวิชา และศิลปศาสตร์ เมื่ออหิงกกุมารไปถึงพระนครตักกสิลาแล้ว ก็เข้าไปหาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ขอศึกษาศิลปวิทยา อุตส่าห์กระทำวัตรปรนนิบัติอาจารย์เป็นอันดี และมีปัญญาเล่าเรียนได้ว่องไว แม้จะเล่าเรียนศิลปศาสตร์วิชาการ ใด ๆ ก็รู้จบสิ้นทุกประการ เชี่ยวชาญยิ่งกว่าศิษย์ทั้งปวง จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ฝ่ายศิษย์อื่น ๆ อันเป็นเพื่อนเล่าเรียนด้วยกันนั้น ก็บังเกิดความริษยา จึงปรึกษากันเพื่อหาอุบายทำล อ่านต่อ


พระอานนท์

พระเถระผู้เป็นพุทธปัฏฐากของพระมหาสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้า อโตทนศากยราช พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดาในเรื่องพระบิดาของท่าน มีหลักฐานหลายแห่งคัดค้านกันอยู่ เช่น อรรถกถาอังคุตตรนิกาย อรรถกถาธรรมบท และอรรถกถาพุทธวงศ์ กล่าวว่า พระเจ้าอมิโตทนะ เป็นพระบิดาของพระเจ้ามหานามะ และพระอนุรุทธะในมหาวัสตุ และพุทธประวัติของพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ส่วนพระเจ้าอมิโตทนะเป็นพระบิดาของพระเจ้ามหานามะ และพระอนุรุทธะแต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย กล่าวว่า พระเจ้าสุกโกทนะเป็นพระบิดาของพระเจ้ามหามามะ  อ่านต่อ


มโหสถชาดก

นเมืองมิถิลา มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอด ออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยา แล้วนำมา ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ" เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กว่าเด็กในวัยเดียวกัน
   ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่า ในเวลาฝนตก ตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝน ลำบากลำบนเล่นไม่สนุก จึงขอให้เพื่อนเล่นทุก คนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรพิสดาร นอกจาก ที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้ว ยังจัดสร้างห้อง วินิจฉัยคดีด้วย เพราะความที่มโหสถเป็นเด็กฉลาดเฉลียวเกินวัย จึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาท หรือแก้ใขปัญหาขัดข้อง ต่างๆ อยู่ เสมอ
   ชื่อเสียงของมโหสถเลื่องลือไปไกลทั่วมิถิลานคร ในขณะนั้น กษัตริย์เมืองมิถิลา ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิเทหราช ทรงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำ ราชสำนัก 4 คน คือ เสนกะ ปุตกุสะ กามินท์ และ เทวินทะ บัณฑิตทั้ง 4 เคยกราบทูลว่าจะมี บัณฑิต คนที่ห้ามาสู่ราชสำนักพระเจ้าวิเทหราช พระองค์จึงโปรดให้ เสนาออกสืบข่าวว่า มีบัณฑิตผู้มีสติปัญญา ปราดเปรื่องอยู่ที่ใดบ้าง เสนาเดินทางมาถึงบริเวณบ้านของสิริวัฒกะเศรษฐี เห็นอาคารงดงาม จัดแต่งอย่างประณีตบรรจง จึงถามผู้คนว่าใ  อ่านต่อ


พระมหาชนก

 ชาดก เป็นเรื่องที่เล่าถึงพระพุทธเจ้าในชาติก่อน ๆ โดยกล่าวไว้ใน "มหานิบาตชาดก" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์พระไตรปิฎก ฉบับพระสูตร (พระสุตตันตปิฎก)
            ชาดก เรื่องสำคัญเป็นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ 10 ชาติ หรือเรียกว่า "ทศชาติชาดก" คนไทยเรียกว่า "พระเจ้าสิบชาติ" มหาชนกชาดกเป็นพระโพธิสัตว์ชาติที่ 2 ในทศชาติโดยบำเพ็ญวิริยบารมีหรือความเพียร มีเรื่องย่อดังนี้
            ณ เมืองมิถิลาแห่งรัฐวิเทหะ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาชนก ทรงมีพระโอรสสององค์ คือ
เจ้าอริฏฐชนก และ เจ้าโปลชนก เจ้าอริฏฐชนกทรงเป็นอุปราช ส่วนเจ้าโปลชนกทรง เป็นเสนาบดี เมื่อพระราชบิดาสวรรคต เจ้าอริฏฐชนกผู้เป็นอุปราช ก็ได้ครองบ้านเมืองต่อมา เจ้าโปลชนกทรงเป็นอุปราช ทรงเอาใจใส่ดูแลบ้านเมืองช่วยเหลือ  อ่านต่อ


เวสสันดรชาดก

ระเจ้าสญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีพี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนดประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้า บังเอิญในขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์และประสูติพระโอรสในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่า เวสสันดร หมายถึง ในท่ามกลางระหว่างย่านค้าขาย พร้อมกับที่พระโอรสประสูติ ช้างต้นของพระเจ้าสญชัยก็ตกลูกเป็นช้างเผือกเพศผู้ได้รับชื่อว่า ปัจจัยนาค เป็นช้างต้นคู่บุญพระเวสสันดร
   เมื่อพระกุมารเวสสันดรทรงเจริญวัยขึ้น ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบริจาคทาน มักขอพระราชทานทรัพย์จากพระบิดามารดา เพื่อบริจาคแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงขอให้พระบิดาตั้งโรงทาน  อ่านต่อ